ตอบโจทย์ธุรกิจได้ไม่ยาก! เพียงเข้าใจพฤติกรรมการใช้ Social ของแต่ละ Gen

หลายๆ เพจแบรนด์อาจจะเคยมีปัญหา ว่าด้วยเรื่องของ “การเข้าถึงกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมาย” ของเพจเราอย่างไรดีกันใช่ไหมครับ? ว่าจะทำอย่างไร? ต้องสื่อสารด้วยคอนเท้นท์แบบไหนถึงจะดีที่สุด?! เพราะแต่ละช่วงอายุแต่ละวัย ก็มีพฤติกรรมการเล่น Social Media ที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มเป้าหมายของสินค้าเราเป็นวัย Baby Boomer แต่เราใช้สื่อไปทาง Twitter ที่ไม่ใช่ Social Media ที่คนกลุ่มนี้ใช้งานเป็นหลัก ก็จะสูญเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อแบรนด์เรา ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งาน Social Media ของแต่ละ Generation ก็เป็นการเริ่มตนที่ดี ที่ช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้มากขึ้น วันนี้ผมเลยมีข้อมูลการใช้งาน Social Media มาฝากกันครับ เริ่มจาก …

กลุ่ม Baby Boomer (เกิดในปี ค.ศ.1946-1964) ช่วงอายุตั้งแต่ 56-74 ปี

  • ส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ กลายเป็นฐานลูกค้าหลักของสินค้าไอทีอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ต
  • เฟซบุ๊กเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ชาวบูมเมอร์ใช้งาน
  • การโฆษณาสินค้าแบบที่ให้ทดลองใช้ก่อน มีจูงใจและสร้างความเชื่อถือได้ดีมาก
  • มีความต้องการอุปกรณ์เพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น อาทิ นาฬิกาสำหรับออกกำลังกาย เครื่องนับก้าวเดิน กาแฟเพื่อสุขภาพ
  • มากกว่า 50% ไม่ต้องการเกษียณอายุ ยินดีทำงานต่อ แต่ไม่ต้องการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ

กลุ่ม Gen X (เกิดในปี ค.ศ.1965-1980) ช่วงอายุตั้งแต่ 40-55 ปี

  • 50% มองหางานอดิเรกแปลกใหม่เพื่อลดความเครียดจากงานและครอบครัว
  • ให้ความสำคัญการออกกำลังกาย เช่น เข้าฟิตเนส วิ่งมาราธอน ปั่นจักรยาน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงไม่แพ้คนอายุน้อย
  • เป็นกลุ่มที่เลิกแอลกอฮอล์มากที่สุดเมื่อเทียบกับเจนอื่น เนื่องจากปัญหาสุขภาพเกิดชัดในช่วงอายุนี้
  • ผู้หญิงราว 40% มีเป้าหมายในการคงความงามของหน้าตาและร่างกายให้ดูอ่อนกว่าวัย
  • เป็นผู้มีอำนาจเลือกซื้อของใช้ภายในบ้านและเครื่องครัวมากที่สุด

กลุ่ม Millenial (เกิดในปี ค.ศ.1981-1996) ช่วงอายุตั้งแต่ 24-39 ปี

  • เกือบ 3 ใน 4 เป็นผู้เสพติด Social Media มักมองหากิจกรรมช่วงในวันหยุดหรือสุดสัปดาห์ เพื่อทำคอนเท้นท์ลง Social Media ของตัวเอง
  • บ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยเป็นการลงทุนอันดับต้นๆ เพื่อเป็นทั้งที่พักพิงและสถานที่พักผ่อนจิตใจ
  • สินค้าที่ใช้งานภายในบ้านและการตกแต่งบ้านเป็นที่นิยมอย่างมาก
  • บางส่วนพยายามหลีกหนีชีวิต Digital แล้วมองหาประสบการณ์และความสัมพันธ์ในชีวิตจริงมากขึ้น อาทิ เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ไปเที่ยวพักผ่อน
  • พ่อแม่ชาวมิลเลนเนียลเลือกวิธีเลี้ยงลูกแบบยืดหยุ่น มองหาศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีการปรับและออกแบบโปรแกรมสอนแบบเฉพาะด้าน

กลุ่ม Gen Z (เกิดในปี ค.ศ.1997-2012) ช่วงอายุตั้งแต่ 8-23 ปี

  • Generation ที่เต็มไปด้วยความกังวลใจจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 กำลังเผชิญกับปัญหาในการเข้าสู่ตลาดงานที่ว่างเปล่า
  • มองหาพื้นที่ปลอดภัยในโลกออนไลน์จึงเกิดการรวมกลุ่มต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ เพลง งานศิลปะในรูปแบบต่างๆ
  • เกิดการขับเคลื่อนวัฒนธรรม Nostalgia Effect หรือการย้อนอดีตวันวาน อาทิ ภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือสินค้า Analog
  • เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมมาตลอดช่วงอายุ จึงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนธุรกิจหรือแบรนด์ที่ให้คำมั่นเรื่องความยั่งยืนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

กลุ่มใหม่ล่าสุด Gen Alpha (เกิดในปี ค.ศ.2012-ปัจจุบัน) ช่วงอายุตั้งแต่ 8 ปี

  • เติบโตมาพร้อมกับความเชื่อเรื่องความหลากหลายทางเพศจึงคาดหวังในผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกถึงตัวตนที่ชัดเจน
  • เรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์และลดความเครียดของตนเองได้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งส่งผลต่ออาชีพในอนาคต การฝึกสติ และชีวิตประจำวัน
  • ธุรกิจควรการเพิ่มความตระหนักถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Hidden Diabilities) เกิดแรงขับเคลื่อนการออกแบบพื้นที่มากขึ้น
  • เลือกธุรกิจที่เพิ่มสัดส่วนเทคโนโลยีและผนวกประสบการณ์ด้านการเรียนรู้เข้าไป อาทิ เวิร์กช้อปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะ
  • เป็นเจนที่เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานและมีรายได้พื้นฐาน ทำให้อาจไม่ต้องทำงานและมีเวลาลงลึกในสิ่งที่ตนเองสนใจ

เมื่อเราได้เรียนรู้พฤติกรรมของแต่ละ Generation แบรนด์เราเองก็สามารถจัดการกับคอนเท้นท์ สื่อที่จะใช้ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเราได้นั่นเองครับ

หากเพจของคุณกำลังมองหา Partner ที่จะช่วยคุณสร้างแบรนด์ สร้างคอนเท้นท์ที่ดี พร้อมการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ และพร้อมให้คำปรึกษา ให้ Clisk Thailand ของเราช่วยสร้างแบรนด์ของคุณได้นะคะ ติดต่อคลิสค์ได้ที่ 0-2060-6977 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00 น. – 18:00 น.

Visited 6 times, 1 visit(s) today

Enhance your sales and marketing efficiency in Southeast Asia with our expert social media team—contact us today for professional support.