ทำความเข้าใจ Insights ของผู้สูงวัย 60+ ในปัจจุบันและในปี 2050

แก่แล้วไม่แก่เลย! ประโยคนี้เห็นท่าจะจริง โลกกำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงวัย” หรือ Aging Socity ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเองที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์กันแล้ว กลุ่มผู้สูงวัย 60+ ก็กลายเป็นกลุ่มที่นักการตลาดก็ต้องให้ความสนใจในเรื่องพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้เช่นกัน บอกเลยว่ากลุ่มผู้สูงอายุ 60+ ตอนนี้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงปรี๊ดกว่าเมื่อก่อนมากๆ ไม่รอช้าไปทำความเข้าใจ Insights ของผู้สูงวัย 60+ ในปัจจุบันและในปี 2050 กันดีกว่าค่ะ

1. อายุ 60+ ในแต่ละประเทศไม่ได้หมายความว่าจะต้องแก่หมดเสมอไป

ถ้าในอดีตที่เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมหลายคนจะบอกว่าคนอายุ 60+ เนี่ยแหละแก่แล้ว แต่ใครจะรู้ว่าเมื่อโลกเปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบันนี้คนอายุ 60+ พูดได้เต็มปากเลยว่าอายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้นค่ะ ซึ่งในปัจจุบันถ้าให้บอกว่าอายุเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าคนแก่หรือผู้สูงวัย หลายประเทศมองว่าอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 66 ปีเป็นต้นไปค่ะ

  • ประเทศสเปนมองว่าผู้สูงวัยเริ่มต้นที่อายุ 70
  • ในขณะที่คนซาอุดิอาระเบียชี้ 49 ปีก็แก่แล้ว
  • ประเทศไทย คนไทยเรายังมองว่า 60 เป็นอายุเริ่มต้นของผู้สูงวัย ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ

2. เลิกเอาอายุมาชีวัดตัวตน และให้มองไลฟ์สไตล์และความต้องการแท้จริง ทำความเข้าใจผู้สูงวัยดีกว่า

ใครที่มีภาพจำว่าผู้สูงวัยคือกลุ่มคนที่ไม่ชอบเทคโนโลยี เข้าใจเทคโนโลยียาก ไม่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ บอกเลยว่ายุคปัจจุบันไม่ใช่อีกแล้วนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักการตลาด กว่า 79% ยังใช้ “อายุ” เป็นตัวชี้วัดในการกำหนดตัวตนของผู้สูงวัย แทนที่จะศึกษาจากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง

  • 82% ของคนฝรั่งเศสอายุ 55+ มองว่ารีเทล หรือห้างร้านฯ ไม่ได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของเขา
  • 88% เห็นด้วย แบรนด์ควรโฟกัสความต้องการ – ความสนใจของผู้บริโภค ไม่ใช่ดูกันที่อายุอย่างเดียว
  • 4 ใน 5 ของคนฝรั่งเศส บอกว่าแบรนด์ควรพัฒนาสินค้า-บริการ ที่ไม่จำเป็นต้องมาบอกว่าสินค้า-บริการนั้นๆ สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ แต่ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ เช่น ตอบความต้องการด้านการท่องเที่ยว ตอบโจทย์ด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ตอบสนองความสะดวกสบาย เป็นต้น

3. ผู้สูงวัยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นนักช้อปปิ้งออนไลน์ไม่น้อยไปกว่ากลุ่มคน Millennials

กราฟข้างต้นชี้ให้เห็นว่าในปี 2002 ผู้บริโภคทุกช่วงวัย ตั้งแต่อายุ 30 –  75 ปี ยังไม่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย จากนั้นในแต่ละปี การใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2017 พบว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นหนึ่งในคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากสุด

  • ปี 2018 พบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยกว่า 1.2 ล้านคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ใช้ออนไลน์ เติบโตจากปี 2008 ถึง 100% ที่ในเวลานั้นอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มผู้สูงวัยมีแค่เพียง 1% เท่านั้น
  • ตัวอย่างชัดเจน และใกล้ตัวทุกคน คือ ผู้สูงอายุพูดคุยกับครอบครัว – เพื่อนผ่าน Messenger
  • มากกว่า 88% ของผู้สูงอายุในฝรั่งเศสใช้อินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับปี 1995 ที่มีเพียง 2% เท่านั้น
  • 31% ของผู้สูงอายุ (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ในอังกฤษ ใช้สมาร์ทโฟน
  • 87% ของผู้สูงอายุในชิลี (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ใช้โทรศัพท์มือถือ และ 42% ใช้ WhatsApp – 30% ใช้ Facebook
  • ในประเทศฝรั่งเศส และแคนาดา ผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยี “Telemedical” เพื่อเข้าถึงสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ โดยเทคโนโลยีนี้จะส่งสัญญาณโดยตรงไปที่โรงพยาบาล และแพทย์
  • 43% ของผู้สูงวัยในอังกฤษ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นกิจกรรมหลักของผู้สูงวัย

4. อายุเยอะขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะลองเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ไม่ได้

จากมุมมองในอดีตคือเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงวัยก็จะต้องเลิกทำงานและเกษียณอยู่บ้านเฉยๆ แต่ปัจจุบันการที่อายุมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่นิ่งๆ อีกต่อไป เพราะ Insights ของผู้สูงอายุ 65 ปีในประเทศฝรั่งเศสบอกว่า…

  • 70% ชอบลองอะไรใหม่ๆ
  • 60% รู้สึกว่าตัวเองเด็กกว่าอายุ
  • 35% ของผู้สูงวัยในฝรั่งเศสมองว่าช่วงสูงวัย เป็นช่วงเวลาที่ดี

และ Insights ผู้สูงอายุในประเทศไทยบอกว่า…

  • 64% ของผู้สูงอายุ บอกว่ารู้สึกว่าตัวเขาเองเด็กกว่าอายุจริง
  • 75% ต้องการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
  • 46% มองว่าช่วงสูงวัย เป็นช่วงที่ดี เป็นช่วงที่ดี
  • 47% ของผู้สูงวัยไทย ต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่

และความเป็นจริงของผู้สูงอายุในปัจจุบัน คือ

  • ต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่หลังเกษียณ
  • ไม่ต้องการอยู่กับบ้าน
  • ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่
  • ต้องการท่องเที่ยว
  • ต้องการมีความรักอีกครั้ง กลับไปโรแมนติกอีกครั้ง

5. ไลฟ์สไตล์ – กิจกรรม – พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของผู้สูงวัยคนไทย

กิจกรรมยอดฮิตติดอันดับที่ผู้สูงอายุชาวไทยชื่นชอบตามลำดับ  คือ

  • การออกกำลังกาย (56%) ไม่เพียงออกกำลังกายในสวนสาธารณะ แต่ยังรวมถึงออกกำลังกายในฟิตเนสเซ็นเตอร์
  • เดินทางท่องเที่ยว (49%)
  • การเพาะปลูก (34%)
  • ชอบสังคมเยี่ยมญาติ / เพื่อนสนิทมิตรสหาย (27%)
  • การเดินออกกำลังกาย (27%)
  • ร่วมกิจกรรมชุมชน (22%)
  • ช้อปปิ้ง (20%)
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ (12%)
  • อาสาสมัคร (10%)
  • ใช้ Social Media (7%)
  • เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ (7%)
  • โยคะ (7%)
  • เลี้ยงสัตว์ (5%)
  • ลงเรียนคอร์สออนไลน์ (5%)
  • เล่นบอร์ดเกม (5%)
  • เรียนรู้เครื่องดนตรีใหม่ๆ (2%)
  • ไปดูภาพยนตร์ (2%)

6. ล้วงลึกความต้องการผู้สูงวัยไทย – ทั่วโลก

ความต้องการของผู้สูงอายุไทย

  • ต้องการความสงบ (41%) ส่งผลให้ธุรกิจสปา, Wellness, กิจกรรมนั่งสมาธิเติบโตขึ้น
  • ต้องการใช้เวลาไปกับงานอดิเรก / พักผ่อน (37%) พบว่าผู้สูงอายุไทยชอบถ่ายรูป ไม่ต่างจากคนรุ่นใหม่ โดยคนสูงวัยจะไปร้านสวยๆ แล้วถ่ายรูป ทำให้กิจกรรมถ่ายรูปเติบโตเร็ว
  • ใช้เวลากับเพื่อน / ครอบครัว (30%)
  • หาประสบการณ์ใหม่ๆ (24%)
  • ใช้เวลาท่องเที่ยว (24%)
  • มีเวลาดูแลบ้าน และทำสวน (22%)
  • ใช้ชีวิตแบบเนิบช้า (20%)
  • มีความมั่นคงทางการเงิน (16%)
  • ลดความกดดันชีวิต (15%)
  • มีความจำดี (15%)
  • ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น (14%)
  • มีเวลามากขึ้นที่จะรู้จักชุมชนท้องถิ่น (11%)

ความต้องการของผู้สูงอายุทั่วโลก

  • ใช้เวลากับเพื่อน / ครอบครัว (36%)
  • มีเวลาทำงานอดิเรก (32%)
  • มีเวลาท่องเที่ยว หรือพักผ่อน (26%)
  • เลิกทำงาน (26%)
  • มีความมั่นคงทางการเงิน (20%)
  • ใช้ชีวิตแบบเนิบช้า (20%)
  • ลดความกดดันในชีวิต (17%)
  • ฉลาดขึ้น (14%)
  • ต้องการความสงบในชีวิต (13%)
  • มีเวลาดูแลบ้าน และทำสวน (11%)
  • ความต้องการของผู้สูงอายุไทย

7. “การเงิน – สุขภาพ” คือสองสิ่งที่ผู้สูงอายุทั่วโลกวิตกกังวลมากสุด

สิ่งที่ผู้สูงอายุทั่วโลกวิตกกังวลมากที่สุด คือ  เรื่องเงิน และ สุขภาพ (Top Worries – Money & Health)  และสิ่งที่ผู้สูงอายุชาวไทยมีความกังวลใจซึ่งก็มีความใกล้เคียงกัน

โดยสามารถเรียงลำดับตามความวิตกกังวลของกลุ่มผู้สูงวัยของโลก คือ

  • กลัวมีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต (30%)
  • กลัวมีปัญหาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (25%)
  • เสียความทรงจำ (24%)
  • ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ (22%)
  • การจากไปของคนในครอบครัว  ญาติ และเพื่อนฝูง (20%)
  • ความเจ็บป่วย (20%)
  • ถูกทิ้งให้เปล่าเปลี่ยว-เหงา-เศร้า (19%)
  • ไม่มีอิสระ (18%)
  • ตาย (16%)
  • หูตึง / ตามองไม่เห็น (13%)

ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า สังคมผู้สูงวัย นำมาซึ่งโอกาสอันมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับคลื่นความเสี่ยงที่จะถาโถมมาอย่างไม่หยุดยั้ง ความเข้าใจอย่างสุดซึ้ง และการเตรียมพร้อมอย่างเคร่งครัดเท่านั้นที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และอุปถัมภ์การปรองดองของสังคมและคนในแต่ละช่วงอายุได้ หากธุรกิจของคุณกำลังต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้สูงวัย แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ทางทีม Clisk ยินดีให้คำปรึกษาเลยค่ะ

Credit : Ipsos

มองหาผู้ช่วยด้าน Social media marketing ที่จะช่วยคุณสร้างแบรนด์ สร้างคอนเท้นท์ที่ดี พร้อมการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ ให้ Clisk Thailand ของเราช่วยสร้างแบรนด์ของคุณได้นะคะ ปรึกษาหรือต้องการติดต่อคลิสค์ >>คลิก<< หรือโทร 0-2060-6977 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00 น. – 18:00 น.

Visited 42 times, 1 visit(s) today

Enhance your sales and marketing efficiency in Southeast Asia with our expert social media team—contact us today for professional support.