ถอดรหัสแบรนด์ดังธุรกิจสายสุ่มเสี่ยง ต้องทำการตลาดแบบไหนในยุคดิจิทัล
- Sep, 30, 2024
- News
อีกหนึ่ง Session ที่น่าสนใจจากงาน AP Thailand Presents MARKETING INSIGHT & TECHNOLOGY CONFERENCE 2024 หรือ MITCON2024 ขอเสนอ Session: Marketing Strategy for Highly Restricted Industries กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจสายสุ่มเสี่ยง ทำยังไงให้ไม่โดน Platform แบน ที่ได้สปีกเกอร์จากแบรนด์ดัง คุณวรัญญู ดารารัตนโรจน์ General Manager บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์ อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) และคุณภคมน ตุลยาพิศิษฐ์ชัย Head of Digital Transformation, Ngern Tid Lor Public Limited Company
งานนี้ทั้ง 2 ท่านได้มาแชร์ประสบการณ์ในการทำ Marketing ในธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงที่ใช้จริงๆ และเกิดผลลัพธ์ขึ้นจริง ทั้งคู่จะใช้วิธีไหนเพื่อก้าวผ่านข้อจำกัดที่มากมายเหล่านั้น อะไรที่ทำแล้วเวิร์กควรค่าที่จะลอง แนวทางไหนเป็นไปได้ที่สุด วันนี้ทีมคลิสค์ได้สรุปและรวบรวมมาให้แล้วค่ะ
1. ต้องเข้าใจกฎและข้อห้ามทั้งหมดของธุรกิจเป็นอย่างดี
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ยังใช้ได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะในธุรกิจสายสุ่มเสี่ยง โดยสปีกเกอร์ทั้ง 2 ท่านยืนยันเป็นเสียงเดียวเลยว่า คีย์สำคัญคือต้องรู้กฎกติกาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน ดังนั้นการศึกษาและทำความทำใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่นักการตลาดควรต้องทำก่อนเริ่มวางแผนกลยุทธ์โฆษณาอื่นๆ เพื่อการโฆษณาที่ดีที่สุด
ตัวอย่าง
กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน – ต้องมีคำเตือน ห้ามจูงใจที่มากเกินไป เช่น กิจกรรมแจกรางวัล
กลุ่มเครื่องมือทางการแพทย์ – ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำหรับสินค้าถุงยางอนามัยก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงวัฒนธรรมด้วย
ทั้งนี้มีเทคนิคเพิ่มเติมให้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะมีคู่มือที่แจ้งกฎกติกาเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าอยู่แล้ว ควรศึกษาจากแหล่งข้อมูลนั้น อะไรที่ระบุชัดเจนว่า “ห้าม” ก็อย่าทำ เพราะอาจทำให้สิ่งที่ลงทุนไปสูญเปล่า ตัวอย่างจากกรณี ONETOUCH เคยทำโฆษณาด้วยเงินทุนจำนวนมากแต่ไม่ผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลายเป็นว่าไม่สามารถใช้โฆษณาตัวนั้นไปเลย
2. แนวทางโฆษณาของธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงที่มืออาชีพแนะนำ
1. พิจารณาสื่อโฆษณาประเภทอื่นเพิ่มเติม
ปัจจุบันการโฆษณาใน Social media platforms ต่างๆ มีโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากก็จริง แต่ก็ต้องเจอกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย นอกจากนี้แต่ละ Platform ยังมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน ระบบตรวจสอบต่างกัน ทำให้มีมาตรฐานที่ต่างกันไปด้วย เพื่อเลี่ยงความยากลำบากเหล่านั้นแบรนด์อาจจะลองพิจารณาถึงสื่อโฆษณาประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สื่อโฆษณาติดรถ สื่อโฆษณาป้ายบิลบอร์ด (Billboard) เป็นต้น
2. เปลี่ยนสไตล์โฆษณาใหม่
ลองคิดดูว่าสินค้ากลุ่มเดียวกัน ถูกตีกรอบไว้ด้วยกฎกติกาเดียวกัน จะทำให้การโฆษณาออกมาเหมือนกันขนาดไหน!? ดังนั้นถ้าแบรนด์ต้องการสร้างความโดดเด่นเพื่อแย่งชิงตลาดมาให้ได้ อาจลองเริ่มจากเปลี่ยนสไตล์โฆษณาแบบใหม่โดยอย่าลืมว่าต้องไม่ขัดกับกฎกติกาด้วย
ตัวอย่าง
กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน – มีสินค้าประกันแบรนด์ใหม่ โจทย์คือทำให้ประกันไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ ดังนั้นแบรนด์จึงศึกษา Customer insight ดูว่ากลุ่มเป้าหมายชอบดูสื่อโฆษณาแบบไหน แล้วทำสื่อออกมาล้อตามพฤติกรรมเหล่านั้น เช่น เปลี่ยนการใช้ฟ้อนต์ การเลือกใช้สี สร้างคอนเทนต์ตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความสนุก แต่ก็ขายของด้วย รวมถึงมีการคอลแลปกับครีเอเตอร์ที่กลุ่มเป้าหมายติดตาม เป็นต้น
3. ปรับสักหน่อยเพื่อลดความเข้มข้น
ถ้าทำความเข้าใจกับกฎและข้อห้ามเป็นอย่างดีแล้ว จะรู้เลยว่าจุดไหนคือต้นเหตุที่อาจก่อให้กิดความลำบาก หรือจุดไหนที่สุ่มเสี่ยงจะทำให้ถูกแบนสูง และเมื่อหาจุดเหล่านั้นเจอแล้วควรลองปรับเปลี่ยนสักนิด ไม่แน่อาจพบว่าแค่เปลี่ยนนิดเดียวชีวิตก็ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ตัวอย่าง
กลุ่มเครื่องมือทางการแพทย์ – เปลี่ยนโลโก้ใหม่โดยตัดคำว่า Condom ที่บ่งบอกถึงเครื่องมือแพทย์ออก เมื่อเหลือแค่ชื่อแบรนด์คำว่า ONETOUCH ก็ช่วยให้ขอโฆษณาได้ง่ายขึ้น สามารถต่อยอดโฆษณาได้หลากหลายมากขึ้น
4. Collaboration Marketing
ถ้าแบรนด์พูดเองไม่ได้ ก็ให้คนอื่นมาช่วยพูด! เป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจที่ทั้ง 2 กลุ่มธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงต่างเลือกใช้เหมือนกันทั้งคู่ โดยเลือกที่จะคอลแลปกับ Creator, KOL หรือ Influencer ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ให้ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้เป็นกระบอกเสียงแทนแบรนด์ นอกจากแบรนด์จะได้สื่อสารจุดที่ต้องการแล้ว ยังเป็นการเพิ่มสื่อโฆษณาอีกรูปแบบหนึ่งให้แบรนด์ได้ด้วย
5. ลดการขาย เพิ่มการให้
เป็นที่รู้กันดีว่าถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์นั้นทำการโฆษณาค่อนข้างลำบากเนื่องจากมีกฎกติกาเข้มงวด กระทั่งจะใส่คำอธิบายสรรพคุณยังทำไม่ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนจาก ‘ขายของ’ มาเป็น ‘ให้ประโยชน์’ แทน เช่น จัดทำหนังสือ “คู่มือจู๋ 101” ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคทำสื่อโฆษณาแบบเนียนๆ แต่ได้ผลดี และปลอดภัยด้วย
3. เตรียมตัวเตรียมใจรับความเสี่ยง
เป็นธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงก็ต้องเจอความเสี่ยง! จึงไม่แปลกใจอะไรที่นักการตลาดสินค้าประเภทนี้ต้องลุ้นทุกครั้งว่าที่ลงโฆษณาไปจะผ่านไหม? จะมีใครโทรมาหรือเปล่า? ดังนั้นแบรนด์จึงต้องเตรียมพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการทำโฆษณาอยู่เสมอ ต้องมีความยืดหยุ่น และพร้อมลงมือทันที
แบรนด์ควรเตรียมพร้อมในแง่ไหนบ้าง
1. วางแผนการโฆษณาของแต่ละ Platform
ก่อนจะผลิตภัณฑ์โฆษณาต้องรู้ก่อนว่าโฆษณาชิ้นนี้จะไปลงอยู่ช่องทางไหน? platform อะไรบ้าง? เพื่อที่จะกำหนดการใช้ภาพ และข้อความ ให้เหมาะสมกับนโยบายของช่องทางหรือ platform นั้นๆ
2. มีช่องทางของตัวเองสำรอง
เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูก platform แบนหรือเพจปลิวอยู่ตลอดเวลา จึงแนะนำให้แบรนด์มีช่องทางสำรองที่ให้ลูกค้ายังสามารถติดต่อเราได้เสมอ เช่น LINEOA
3. อัปเดตกฎกติกาอย่างสม่ำเสมอ
ในการโฆษณธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงกฎต่างๆ มักมีการปลี่ยนแปลงที่บ่อยและเร็ว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกแบนจึงควรอัปเดตข้อมูลตรงนี้เสมอ ต้องรู้ว่าตอนนี้ทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ก็จะช่วยให้การทำโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. แนวโน้มการโฆษณาของธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงในอนาคต
ตอนนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาธุรกิจสายสุ่มเสี่ยงเริ่มใช้ Ai เข้ามาช่วยในส่วนของการตรวจโฆษณาบ้างแล้ว ทำให้เราสามารถปรับสื่อโฆษณาให้เข้ากับเกณฑ์ Ai ได้ แนวโน้มในอนาคตจึงมีโอกาสที่แบรนด์จะทำงานได้ง่ายขึ้น
ถึงอย่างนั้นแบรนด์ก็ต้องเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย เราควรจะต้องปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว สอดรับกับกฎข้อห้ามต่างๆ ซึ่งมักจะเปลี่ยนตามบริบทของสังคม
ส่วนผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการโฆษณาที่บอกข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างตรงไปตรงมาและเข้าใจง่าย และยิ่งเป็นข้อมูลที่ให้ประโยชน์กับสังคมได้ด้วยก็จะดีมาก
สรุปเทคนิคการตลาดธุรกิจสายสุ่มเสี่ยง
- มีความรู้และเข้าใจ กฎ กติกา ข้อห้าม ข้อจำกัด ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าทั้งหมด
- ทำสื่อโฆษณาให้สดคล้องกับกฎเหล่านั้น อะไรที่ระบุว่า “ห้าม” อย่าทำ
- มองหาโอกาสที่เป็นไปได้เสมอ เช่น ปรับการใช้คำ เพิ่มชนิดสื่อ ใช้ KOL
- ควรเน้นการสื่อสารที่จริงใจ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์
- ต้องพร้อมรับความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนได้เสมอ
ถ้าคุณกำลังมองหาพาร์ตเนอร์คู่คิดช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านการตลาดออนไลน์ Social Media Marketing, Paid Media และ KOL / Influencer Marketing สามารถ คลิก มาหา ‘ทีมคลิสค์’ ได้เสมอ พวกเรายินดีให้คำปรึกษาพร้อมแนวทางที่ดีที่สุดโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ด้านออนไลน์
Enhance your sales and marketing efficiency in Southeast Asia with our expert social media team—contact us today for professional support.
Search
Categories
Recent Topics
- Future of E-commerce พาส่องอนาคตอีคอมเมิร์ซไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า
- Neuromarketing การตลาดที่ช่วยให้ ‘ชนะใจลูกค้า’ ผ่านเครื่องมือวัดผลทาง ‘สมอง’
- Affiliate Marketing Hacks! ทำ Affiliate อย่างไรให้ปัง? พร้อมเปิดมุมมองทั้งเจ้าของเเบรนด์ & ครีเอเตอร์
- Top Social Platforms Updates อัปเดต 3 แพลตฟอร์มตัวท็อป ฉบับท้ายปี 2024
- Future of AdTech โฆษณาและเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไรในอนาคตข้างหน้า